.

 

 

..นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย

..........-รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดิน

ให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทานรัฐบาล

..........-หม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก 

และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร

..........-รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้ 

และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่

ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่างเข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม

..........-รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้

เพื่อมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า

..........-รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและ

การนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความสมดุลในการพัฒนา

แนวทางการปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

แนวทางในการปฏิบัติที่จะไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  มีดังนี้

1.  การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ควรดำเนินการดังนี้

1.1 การอนุรักษ์สสารและวงจรการหมุนเวียน ซึ่งเป็นความสามารถในการฟื้นตัวของธรรมชาติ

1.2 จำกัดการปล่อยของเสีย เพื่อรักษาความสามารถของธรรมชาติในการจัดการกับของเสีย

1.3 รักษาความหลากหลายของระบบนิเวศแบบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพื่อควบคุมความสามารถในการสร้าง

ผลผลิตของธรรมชาติไว้

2.  การใช้ทรัพยากรอย่างมีอย่างประสิทธิภาพ ควรดำเนินการดังนี้

2.1 ทำให้เกิดความยุติธรรม โดยอาศัยหลักการว่า “ใครทำคนนั้นต้องจ่าย”

2.2 ให้การชดเชยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ที่ก่อนให้เกิดปัญหา

2.3 มีมาตรการชดเชยแก่การผลิตที่สร้างผลดีต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจมีกำไรน้อยในระบบธุรกิจ

2.4 กระจายสิทธิและรับรองสิทธิในการใช้ทรัพยากรให้แก่กลุ่มคนในสังคมอย่างเสมอภาค

2.5 ให้ความคุ้มครองทรัพยากรไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

2.6 ต้องควบคุมอย่าให้สังคมต้องจ่ายค่าชดเชยเพื่อปกปิดปัญหานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม

2.7 ดำเนินการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทางเทคนิค

2.8 ส่งเสริมและกระตุ้นการหมุนเวียนผลผลิตที่เลิกใช้แล้ว และหาวิธีการยืดอายุผลิตภัณฑ์


3.  การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของกลไกรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยการปฏิบัติสิ่งต่อไปนี้

3.1 ใช้กลไกการตลาดตามระบบปกติ

3.2 ส่งเสริมเจตคติที่ดีของสังคมต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

3.3 ยึดหลักความยุติธรรมในสังคม ถ้าใครต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องยอมจ่ายเงินตามมูลค่าที่เป็นจริงของทรัพยากรนั้น ๆ ไม่ใช่ระบบผูกขาด

3.4 ถ้านโยบายของรัฐใด ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อกลุ่มชนต่าง ๆ  ในสังคม  รัฐจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกนโยบายเกื้อหนุนกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส ในสังคมนั้น  ๆ 

เพราะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสและยากจนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว

3.5 รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเมือง


4.  การรักษาทางเลือกสำหรับอนาคต โดยวิธีการดังนี้

4.1  หลีกเลี่ยงการทำลายสิ่งแวดล้อม

4.2  เมื่อมีความไม่แน่ใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือเทคนิคที่อาจจะมีผลกระทบ  ให้เลือกการตัดสินใจในทางที่รอบคอบ โดยยึดหลักการ

ปลอดภัยไว้ก่อนว่าถ้ามีความไม่แน่ใจก็ให้ระงับโครงการนั้น  ๆ ไว้จนกว่าจะได้ข้อมูลที่เพียงพอ

4.3  เพิ่มความหลากหลายทางนิเวศวิทยา  เศรษฐกิจ  และสังคม  เนื่องจากความหลากหลายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการปรับตัวให้ตอบสนอง

ได้อย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  ที่อาจจะมี

4.4  รักษามาตรการทางการเงินให้สะท้องความเป็นจริงของสภาพเศรษฐกิจขณะนั้น  และให้มีเสถียรภาพ

5.  หยุดการเจริญเติบโตขอประชากร  โดยมาตรการต่าง  ๆ  เช่น  การให้การศึกษา  หรือการขยายระบบการศึกษาภาคบังคับ  เป็นต้น

6.  การกระจายความมั่นคงให้แก่กลุ่มคนที่ยากจน

7.  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ  ทั้งที่แปรรูปแล้วและยังไม่แปรรูป  แนวทางปฏิบัติมีดังนี้

7.1  ลดการใช้พลังงาน  เพื่อสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน

7.2  สงวนรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  โดยการสร้างความรู้ความเช้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนในชุมชนเพื่อให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมและเกิดจิตสำนึกที่จะมีส่วนร่วมในการรักษาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

7.3  ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด  เพื่อให้ได้ทั้งผลผลิตทางอุตสาหกรรมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม      

7.4  เปลี่ยนพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภค  เพื่อลดปริมาณขยะและของเสีย  โดยการ  ลดการใช้ (reduce)  การใช้แล้วใช้อีก  (reuse) 

การแปรใช้ใหม่ (recucle)  และการซ่อมแซม (repair)

   

 

Free Web Hosting